จากศิลปะสู่การวิจาณ์
หนังสือเล่มนี้ มีทั้งภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่ในเล่มเดียวกัน เป็นหนังสือเล่มสำคัญที่สรุปรวม วิเคราะห์ ผลการวิจัยของโครงการ"การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย" ไว้อย่างครบถ้วน เป็นการแสดงให้เห็นถึงการนำทฤษฎีไปใช้เพื่อการสร้างการวิจารณ์อย่างมีเอกลักษณ์ มีความลึกซึ้ง และแตกต่างในการวิเคราะห์ นับว่าเป็นหนังสือเล่มสำคัญที่สถาบันการศึกษา นักวิชาการและนักศึกษา ด้านศิลปะและวรรณกรรมควรมีไว้เพื่อการต่อยอดทางวิชาการสืบไป.
จากเวทีละครสู่การวิจารณ์
การชมละครเวที ถูกมองว่าเป็นวัฒนธรรมของคนกลุ่มเล็กๆ ที่ดูเหมือนจะลดจำนวนลงไป เมื่อสื่อ "ในโรง" อย่างอื่นมีมากขึ้น คนนิยมไปชมมหรสพ ภาพยนตร์ หรือคอนเสิร์ต มากกว่าจะไปชมละครเวที ละครเวทีจึงห่างจากผู้ชมไปมากขึ้นทุกที และกลายเป็นกิจกรรมของคนกลุ่มเล็กๆ เหตุใด สถานการณ์ของละครเวที จึงถูกต้อนเข้าสู่มุมอับๆ ของวัฒนธรรมเช่นนี้ หนังสือเล่มนี้ได้เกิดขึ้นจากการทำงานในโครงการวิจัย "การวิจัยการวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย ภาค 2" ที่เน้นการศึกษาวิจัยด้านการวิจารณ์ละครเวทีโดยเฉพาะ จึงนับเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับลการวิจาณณ์ละครเวทีที่ครบสมบูรณ์ มีการวิเคราะห์ลักษณะนิสัยการวิจารณ์ของคนไทย และได้เสนอถึงการพัฒนาและปรับปรุงการสร้างมาตรฐานใหม่ในการวิจารณ์ รวมทั้งยกตัวอย่างทั้งจากการวิจัยและจากกรณีศึกษาจากต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อสื่อให้เห็นว่า การชมละครถือเป็นการชมศิลปะอันมีความเป็นสากล และคนไทยสามารถที่จะยกระดับการชมละครเวทีให้เท่ากับระดับสากลได้ลายลักษณ์แห่งการวิจารณ์
"ลายลักษณ์แห่งการวิจารณ์ รวมบทวิจารณ์ร่วมสมัย เล่ม 2" ได้รวบรวมบทวิจารณ์ของนักวิจารณ์หลายรุ่น ทั้งสาขาวรรณกรรม สาขาทัศนศิลป์ สาขาศิลปะการละคร และสาขาสังคีตศิลป์ บทวิจารณ์เหล่านี้ได้รับการคัดสรรจากบทวิจารณ์ที่ลงตีพิมพ์ในหน้านิตยสาร มีความเด่นในการแสดงทัศนะวิจารณ์ เหมาะแก่การนำไปใช้เพื่อเป็นตัวอย่างในการศึกษาด้านการวิจารณ์ อีกทั้งยังเป็นแนวทางสำคัญในการชี้ชวนให้ผู้อ่านได้รู้สึกถึงการรับรสศิลปะอย่างมีคุณภาพ
การวิจารณ์ทัศนศิลป์
การวิจารณ์ทัศนศิลป์ : ข้อคิดของนักวิชาการไทย เล่มนี้ มุ่งเสนอบทความวิจารณ์ด้านทัศนศิลป์ บทวิจารณ์ชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงของศิลปะทั่วโลก อิทธิพลของศิลปะตะวันตก รวมทั้งการผสมผสานระหว่างศิลปะตะวันตกกับศิลปะไทย อันมีประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษา ทั้งด้านทัศนศิลป์และการวิจารณ์ ทั้งยังทำให้มองเห็นภาพรวมของวงการทัศนศิลป์ของไทยได้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น นับว่าเป็นหนังสืออีกเล่มที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนิสิต นักศึกษา นักวิชาการ และผู้สนใจทั้งด้านทัศนศิลป์และการวิจารณ์
เพ็ญศรี พุ่มชูศรี คีตศิลปิน
เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ถือเป็นนักร้องคนสำคัญซึ่งเริ่มต้นที่ "สุนทราภรณ์" และได้มีโอกาสเสนองานของคีตกวีแนวหน้าท่านอื่นๆ อีกมากหลายในกาลต่อมา เธอเป็นนักร้องที่ได้รับความนิยมสูงตลอดมา เป็นบุคคลที่มีความสามารถในการร้องเพลง โดยผสมผสานความเป็นไทและความเป็นตะวันตกได้อย่างลงตัว อีกทั้งยังมีพรสวรรค์ในการตีความเนื้อร้องและทำนองได้อย่างน่าศึกษาอย่างยิ่ง หนังสือ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี คีตศิลปิน เล่มนี้ เป็นผลงานของการสัมมนา "เพ็ญศรีวิชาการ" และการแสดงดนตรีในรายการ "แด่เพ็ญศรี คีตศิลปิน"ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2548 โดยเนื้อหาในเล่มจะมีทั้งส่วนที่เป็นภูมิหลังของเพ็ญศรี พุ่มชูศรี ความเป็นเอกในการขับร้อง รวมไปถึงผลงานของท่าน นับว่าเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่ายิ่งสำหรับวงการคีตศิลป์
กวีนิพนธ์ฝรั่งเศสร่วมสมัย
หนังสือเล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเมธีวิจัยอาวุโสเรื่อง “กวีนิพนธ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย : ประสบการณ์จากวรรณคดีไทย อังกฤษ อเมริกัน ฝรั่งเศส และเยอรมัน” โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการวิเคราะห์กวีนิพนธ์ฝรั่งเศสร่วมสมัยในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมฝรั่งเศส ซึ่งผู้วิจัยได้พิจารณาบริบทด้านสังคม วัฒนธรรมการเมือง ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์ วัฒนธรรมทางวรรณศิลป์ วรรณคดีศึกษาวิพากษ์ และกวีนิพนธ์ในฐานะพลังทางปัญญา ส่วนที่สองเป็นสรรนิพนธ์กวีนิพนธ์ฝรั่งเศสร่วมสมัย 50 บท พร้อมคำแปลและตีความ จากการวิเคราะห์กวีนิพนธ์ฝรั่งเศสร่วมสมัยพบว่า ความเป็นพลังทางปัญญาของกวีนิพนธ์ฝรั่งเศสร่วมสมัยอยู่ที่การเป็นกวีนิพนธ์แห่งการแสวงหา ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหาความหมายให้กับการดำรงชีวิตในความสัมพันธ์กับโลกและภาษา การแสวงหารูปแบบของภูมิปัญญาเพื่อแสดงศิลปะและสุนทรียะแห่งภาษาวรรณศิลป์ การแสวงหาการมีส่วนเป็นปากเป็นเสียงให้กับมนุษยชาติ
สำเนียงไทยของคนไร้กล่องเสียง
กล่องเสียงซึ่งประกอบด้วยกระดูกอ่อน เนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ ฯลฯ มีหน้าที่และบทความสำคัญในการเปล่งเสียงพูด เมื่อคนไทยจำนวนหนึ่งต้องสูญเสียกล่องเสียงอันเนื่องมาจากการผ่าตัดรักษาโรคมะเร็ง คนเหล่านั้นจะพูดได้อีกหรือไม่และอย่างไร หลังการผ่าตัด ถ้าพูดได้ คุณสมบัติของเสียงพูดจะเหมือนหรือแตกต่างหรือไม่และอย่างไร กับเสียงพูดของคนไทยทั่วไป และผู้ฟังซึ่งเป็นคนปกติจะสามารถเข้าใจคำพูดของคนไร้กล่องเสียงได้มากน้อยเพียงใด…
ผลงานชิ้นนี้ เป็นหนังสือรวมบทความวิจัยของชุดโครงการ “การพูดของคนไร้กล่องเสียง” ซึ่งเป็นชุดโครงการวิจัยหนึ่งในโครงการเครือข่ายมหาบัณฑิต สกว. โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย บทประมวลและสังเคราะห์วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต 6 เรื่อง บทสรุป 1 บทความ และภาคผนวกซึ่งเป็นบทคัดย่อภาษาไทยและอังกฤษ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิเคราะห์และเปรียบเทียบการออกเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และจังหวะในภาษาไทยของคนไทยไร้กล่องเสียงกับคนไทยปกติด้วยวิธีการทางกลสัทศาสตร์ (Acoustic Phonetics) และการทดสอบการรับรู้ (Perception test) ของผู้ฟังที่เป็นคนปกติ โดยผู้วิจัยที่เป็นนักภาษาศาสตร์ รวมทั้งเป็นแรงกระตุ้นและจุดประกายให้เกิดการตื่นตัวด้านการวิจัยในหมู่นักแก้ไขความผิดปกติในการพูดอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
พลังการวิจารณ์บทสังเคราะห์
บทสังเคราะห์เล่มนี้ เป็นรายงานจากการวิจัยเรื่อง “การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย” และเป็นอีกผลงานตีพิมพ์ต่อเนื่องจากเล่ม “พลังการวิจารณ์ : รวมบทวิจารณ์ร่วมสมัย” (น. 271) ซึ่งยังคงตั้งอยู่บนฐานการวิจารณ์ 4 สาขาวิชา คือ วรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ ศิลปะการละคร และสังคีตศิลป์ เนื้อหาภายในแบ่งเป็นภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างละครึ่งเล่ม โดยผลงานที่บรรจุไว้ในสรรนิพนธ์ทั้ง 50 บท ดังได้แบ่งตีพิมพ์ออกเป็นหนังสือ 4 เล่มนั้น สะท้อนว่าการวิจารณ์ที่เป็นไปได้หลายทิศทาง นับตั้งแต่การให้สัมภาษณ์ การแสดงปาฐกถา และการเขียน ซึ่งแสดงออกจากกรอบความคิดที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นกรอบความคิดในเชิงการเมือง ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ อักษรศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ โดยเป็นการกลั่นกรองความรู้สึกนึกคิดและประสบการณ์ต่างๆ ออกมาเป็น “ความคิดรวบยอด” หรือ “ประเด็นสำคัญ” จนกระทั่งสามารถเป็นพลังทางปัญญาต่อผู้อ่าน ผู้สร้างงาน และเป็นปัจจัยสำคัญต่อพัฒนาการทางศิลปะ ชีวิต และสังคม
บทสังเคราะห์เล่มนี้ เป็น1 ใน 6 เล่มของหนังสือชุดนี้ที่ได้มีการตีพิมพ์ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ติดตามอ่านผลงานของอาจารย์ เจตนา นาควัชระ และผู้สนใจเรื่องของการวิจารณ์งานศิลป์ทุกท่าน
กวีนิพนธ์นานาชาติ
ผลงานชิ้นนี้ เป็นการรวบรวมงานเขียนของนักวิชาการ 5 ท่าน จากต่างมหาวิทยาลัยมีชื่อในเมืองไทย เป็นบทความเชิงสังเคราะห์ในลักษณะของการศึกษากวีนิพนธ์ข้ามชาติเป็นบทนำ ซึ่งนำเสนอเรื่องของการอ่าน การวิจารณ์ กวีนิพนธ์ ของชาติต่างๆ 5 ชาติ ได้แก่ ไทย อังกฤษ อเมริกัน ฝรั่งเศส และเยอรมัน พร้อมทั้งบทนำเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียมจาก ศ. เกียรติคุณ ดร. เจตนา นาควัชระ
หนังสือเล่มนี้ เป็นหนึ่งในสองเล่มของ โครงการวิจัย “การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย ภาค 2” ที่เน้นกิจกรรมพัฒนาและการปรับกิจของการวิจารณ์ให้เป็นกิจสาธารณะมากยิ่งขึ้น โดยส่วนหนึ่งของกิจกรรมดังกล่าว คือการสร้างหนังสือด้านการวิจารณ์เช่นงานในหนังสือเล่มนี้
การวิจารณ์ทัศนศิลป์ : ข้อคิดของนักวิชาการไทย เล่มนี้ มุ่งเสนอบทความวิจารณ์ด้านทัศนศิลป์ บทวิจารณ์ชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงของศิลปะทั่วโลก อิทธิพลของศิลปะตะวันตก รวมทั้งการผสมผสานระหว่างศิลปะตะวันตกกับศิลปะไทย อันมีประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษา ทั้งด้านทัศนศิลป์และการวิจารณ์ ทั้งยังทำให้มองเห็นภาพรวมของวงการทัศนศิลป์ของไทยได้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น นับว่าเป็นหนังสืออีกเล่มที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนิสิต นักศึกษา นักวิชาการ และผู้สนใจทั้งด้านทัศนศิลป์และการวิจารณ์
เพ็ญศรี พุ่มชูศรี คีตศิลปิน
เพ็ญศรี พุ่มชูศรี ถือเป็นนักร้องคนสำคัญซึ่งเริ่มต้นที่ "สุนทราภรณ์" และได้มีโอกาสเสนองานของคีตกวีแนวหน้าท่านอื่นๆ อีกมากหลายในกาลต่อมา เธอเป็นนักร้องที่ได้รับความนิยมสูงตลอดมา เป็นบุคคลที่มีความสามารถในการร้องเพลง โดยผสมผสานความเป็นไทและความเป็นตะวันตกได้อย่างลงตัว อีกทั้งยังมีพรสวรรค์ในการตีความเนื้อร้องและทำนองได้อย่างน่าศึกษาอย่างยิ่ง หนังสือ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี คีตศิลปิน เล่มนี้ เป็นผลงานของการสัมมนา "เพ็ญศรีวิชาการ" และการแสดงดนตรีในรายการ "แด่เพ็ญศรี คีตศิลปิน"ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2548 โดยเนื้อหาในเล่มจะมีทั้งส่วนที่เป็นภูมิหลังของเพ็ญศรี พุ่มชูศรี ความเป็นเอกในการขับร้อง รวมไปถึงผลงานของท่าน นับว่าเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่ายิ่งสำหรับวงการคีตศิลป์
กวีนิพนธ์ฝรั่งเศสร่วมสมัย
หนังสือเล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเมธีวิจัยอาวุโสเรื่อง “กวีนิพนธ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย : ประสบการณ์จากวรรณคดีไทย อังกฤษ อเมริกัน ฝรั่งเศส และเยอรมัน” โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการวิเคราะห์กวีนิพนธ์ฝรั่งเศสร่วมสมัยในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมฝรั่งเศส ซึ่งผู้วิจัยได้พิจารณาบริบทด้านสังคม วัฒนธรรมการเมือง ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์ วัฒนธรรมทางวรรณศิลป์ วรรณคดีศึกษาวิพากษ์ และกวีนิพนธ์ในฐานะพลังทางปัญญา ส่วนที่สองเป็นสรรนิพนธ์กวีนิพนธ์ฝรั่งเศสร่วมสมัย 50 บท พร้อมคำแปลและตีความ จากการวิเคราะห์กวีนิพนธ์ฝรั่งเศสร่วมสมัยพบว่า ความเป็นพลังทางปัญญาของกวีนิพนธ์ฝรั่งเศสร่วมสมัยอยู่ที่การเป็นกวีนิพนธ์แห่งการแสวงหา ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหาความหมายให้กับการดำรงชีวิตในความสัมพันธ์กับโลกและภาษา การแสวงหารูปแบบของภูมิปัญญาเพื่อแสดงศิลปะและสุนทรียะแห่งภาษาวรรณศิลป์ การแสวงหาการมีส่วนเป็นปากเป็นเสียงให้กับมนุษยชาติ
สำเนียงไทยของคนไร้กล่องเสียง
กล่องเสียงซึ่งประกอบด้วยกระดูกอ่อน เนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ ฯลฯ มีหน้าที่และบทความสำคัญในการเปล่งเสียงพูด เมื่อคนไทยจำนวนหนึ่งต้องสูญเสียกล่องเสียงอันเนื่องมาจากการผ่าตัดรักษาโรคมะเร็ง คนเหล่านั้นจะพูดได้อีกหรือไม่และอย่างไร หลังการผ่าตัด ถ้าพูดได้ คุณสมบัติของเสียงพูดจะเหมือนหรือแตกต่างหรือไม่และอย่างไร กับเสียงพูดของคนไทยทั่วไป และผู้ฟังซึ่งเป็นคนปกติจะสามารถเข้าใจคำพูดของคนไร้กล่องเสียงได้มากน้อยเพียงใด…
ผลงานชิ้นนี้ เป็นหนังสือรวมบทความวิจัยของชุดโครงการ “การพูดของคนไร้กล่องเสียง” ซึ่งเป็นชุดโครงการวิจัยหนึ่งในโครงการเครือข่ายมหาบัณฑิต สกว. โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย บทประมวลและสังเคราะห์วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต 6 เรื่อง บทสรุป 1 บทความ และภาคผนวกซึ่งเป็นบทคัดย่อภาษาไทยและอังกฤษ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิเคราะห์และเปรียบเทียบการออกเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และจังหวะในภาษาไทยของคนไทยไร้กล่องเสียงกับคนไทยปกติด้วยวิธีการทางกลสัทศาสตร์ (Acoustic Phonetics) และการทดสอบการรับรู้ (Perception test) ของผู้ฟังที่เป็นคนปกติ โดยผู้วิจัยที่เป็นนักภาษาศาสตร์ รวมทั้งเป็นแรงกระตุ้นและจุดประกายให้เกิดการตื่นตัวด้านการวิจัยในหมู่นักแก้ไขความผิดปกติในการพูดอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น
พลังการวิจารณ์บทสังเคราะห์
บทสังเคราะห์เล่มนี้ เป็นรายงานจากการวิจัยเรื่อง “การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย” และเป็นอีกผลงานตีพิมพ์ต่อเนื่องจากเล่ม “พลังการวิจารณ์ : รวมบทวิจารณ์ร่วมสมัย” (น. 271) ซึ่งยังคงตั้งอยู่บนฐานการวิจารณ์ 4 สาขาวิชา คือ วรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ ศิลปะการละคร และสังคีตศิลป์ เนื้อหาภายในแบ่งเป็นภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างละครึ่งเล่ม โดยผลงานที่บรรจุไว้ในสรรนิพนธ์ทั้ง 50 บท ดังได้แบ่งตีพิมพ์ออกเป็นหนังสือ 4 เล่มนั้น สะท้อนว่าการวิจารณ์ที่เป็นไปได้หลายทิศทาง นับตั้งแต่การให้สัมภาษณ์ การแสดงปาฐกถา และการเขียน ซึ่งแสดงออกจากกรอบความคิดที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นกรอบความคิดในเชิงการเมือง ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ อักษรศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ โดยเป็นการกลั่นกรองความรู้สึกนึกคิดและประสบการณ์ต่างๆ ออกมาเป็น “ความคิดรวบยอด” หรือ “ประเด็นสำคัญ” จนกระทั่งสามารถเป็นพลังทางปัญญาต่อผู้อ่าน ผู้สร้างงาน และเป็นปัจจัยสำคัญต่อพัฒนาการทางศิลปะ ชีวิต และสังคม
บทสังเคราะห์เล่มนี้ เป็น1 ใน 6 เล่มของหนังสือชุดนี้ที่ได้มีการตีพิมพ์ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ติดตามอ่านผลงานของอาจารย์ เจตนา นาควัชระ และผู้สนใจเรื่องของการวิจารณ์งานศิลป์ทุกท่าน
ผลงานชิ้นนี้ เป็นการรวบรวมงานเขียนของนักวิชาการ 5 ท่าน จากต่างมหาวิทยาลัยมีชื่อในเมืองไทย เป็นบทความเชิงสังเคราะห์ในลักษณะของการศึกษากวีนิพนธ์ข้ามชาติเป็นบทนำ ซึ่งนำเสนอเรื่องของการอ่าน การวิจารณ์ กวีนิพนธ์ ของชาติต่างๆ 5 ชาติ ได้แก่ ไทย อังกฤษ อเมริกัน ฝรั่งเศส และเยอรมัน พร้อมทั้งบทนำเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียมจาก ศ. เกียรติคุณ ดร. เจตนา นาควัชระ
หนังสือเล่มนี้ เป็นหนึ่งในสองเล่มของ โครงการวิจัย “การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย ภาค 2” ที่เน้นกิจกรรมพัฒนาและการปรับกิจของการวิจารณ์ให้เป็นกิจสาธารณะมากยิ่งขึ้น โดยส่วนหนึ่งของกิจกรรมดังกล่าว คือการสร้างหนังสือด้านการวิจารณ์เช่นงานในหนังสือเล่มนี้
ดังคำกล่าวของอาจารย์เจตนา ที่ว่า “เมื่อความทุกข์ยากแสนสาหัสบังเกิดขึ้นจริงในระดับโลก เราจะมองแคบไม่ได้อีกต่อไป... เราจะต้องอ่านหนังสือให้กว้างไกลไปในระดับโลก และการที่เราจำเป็นจะต้องอ่านงานแปลก็ยังดีกว่าการที่มิได้สัมผัสกับประสบการณ์ของผู้อื่นเลย ทวิวัจน์ข้ามชาติในรูปของกวีนิพนธ์ร่วมสมัยกำลังจะเป็นสิ่งที่มีพลังเพิ่มขึ้นทุกที และถ้ากวีนิพนธ์สามารถส่งใจไปให้ผู้อื่นได้ ก็เป็นไปได้ว่า เรากำลังเดินไปสู่การฟื้นตัวทางจริยธรรมระดับโลกแล้ว”
พจนานุกรม ไทย-ฮังกาเรียน-ฮังกาเรียน-ไทย
พจนานุกรม 2 ภาษาฉบับนี้ เป็นผลงานจากการศึกษาค้นคว้าจากโครงการพจนานุกรม 2 ภาษา ไทย-ฮังกาเรียน และ ฮังกาเรียน-ไทย ภายใต้โครงการเอเชีย-ยุโรปศึกษา (Asia-Europe Studies Programme) โดยมี รศ. ดร. ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ เป็นหัวหน้าโครงการ
พจนานุกรมเล่มนี้ ตีพิมพ์ขึ้นเนื่องในวาระแห่งการสถาปนาสัมพันธภาพทางการทูตของทั้งสองประเทศ ครบรอบ 30 ปี รวมทั้งคณะผู้จัดทำเล็งเห็นคุณประโยชน์ต่อวงการวิชาการหลายสาขาที่จะสามารถใช้พจนานุกรมเล่มนี้เป็นเครื่องมือขั้นต้นสำหรับการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับยุโรปตะวันออกในระดับสูง ในวงการธุรกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมทั้งเสริมสร้างความเข้าใจอันดีทางวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศต่อไป
แม้ว่าภาษาฮังกาเรียนจะเป็นภาษาที่ยากที่สุดภาษาหนึ่งในโลก เนื่องจากการผสมผสานการพูดอ่านแบบเอเชีย เข้าไว้กับไวยากรณ์แบบยุโรป การจัดพิมพ์พจนานุกรมฉบับนี้จึงเป็นการเปิดศักราชใหม่ในสายสัมพันธ์ของชาวไทยและฮังการีให้ได้เรียนรู้และเข้าใจกันอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น
วรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมปริทัศน์
หนังสือเล่มนี้ เป็นผลงานส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “ภูมิปัญญาทักษณจากวรรณกรรมท้องถิ่น” ซึ่งเป็นโครงการวิจัยย่อยภายใต้ชุดโครงการภูมิปัญญาทักษิณจากวรรณกรรมและพฤติกรรม และมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภท “คตินิยม” ซึ่งเป็นมโนทัศน์ของปราชญ์ชาวบ้านที่ปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นประเภทลายลักษณ์ โดยคัดสรรจากวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ที่ยังมีต้นฉบับให้สืบค้นได้ ประมาณ 5,000 ฉบับ และคัดสรรออกมาเป็นผลงาน 4 ส่วนหลัก ได้แก่ วรรณกรรมบรรณานิทัศน์ วรรณกรรมปริทัศน์ วรรณกรรมคัดสรร และวรรณกรรมพินิจ
โดยหนังสือวรรณกรรมปริทัศน์เล่มนี้ ประมวลขึ้นจากการศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้จำนวนมาก และนำเสนอลักษณะ และจารีต ที่พบในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ เช่น การใช้สัญลักษณ์ ภูมิปัญญา จิตรกรรมที่ปรากฏในหนังสือบุด ศิลปการเล่นคำ กวีโวหาร ตลอดจนบันทึกเหตุการณ์สำคัญในท้องถิ่น ซึ่งสะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาภาคใต้
มองข้ามบ่านักเขียน : เรื่องสั้นไทยในทัศนะนักวิจารณ์
เมื่อนักวิจารณ์ยืนอยู่ข้างหลังนักเขียน มองข้ามบ่านักเขียนออกไป เขาจะเห็นอย่างเดียวกันกับนักเขียนหรือไม่ เขาจะเห็นสิ่งที่นักเขียนไม่ทันเห็น หรือไม่สนใจจะเขียนถึงบ้างหรือไม่ หรือเขาอาจมองเห็นบางสิ่งบางอย่าง ที่เขาเชื่อว่ามีอยู่ หรือน่าจะมีอยู่และที่ต่างไปจากนักเขียน ผู้ยืนอยู่ข้างหน้า ...
บทวิจารณ์ 12 บท และเรื่องสั้น 12 เรื่อง ที่รวมอยู่ในหนังสือเล่มนี้เป็นผลงานอีกชิ้นหนึ่งในโครงการวิจัย “การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปํญญาของสังคมร่วมสมัย “ (ระยะที่ 2) นี้มุ่งหมายที่จะปลูกสร้างวัฒนธรรมการวิจารณ์ทั้งลายลักษณ์และมุขปาฐะให้มีรากฐานที่มั่นคงและเจริญงอกงามต่อไปในวงวิชาการและสาธารณชน เรื่องสั้นที่ยกขึ้นมาเป็นงานเขียนในช่วงทศวรรษ 2520 และ 2530 เช่นเรื่อง ท่อนแขนนางรำ ของมนัส จรรยงค์ (พ.ศ. 2493) ไพร่ฟ้า ของ ลาวคำหอม (พ.ศ. 2501) สาบเสือ ของ นิคม รายยวา (พ.ศ. 2542) เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้รักงานวรรณกรรมทุกท่าน รวมทั้งท่านที่สนใจเรื่องของงานวิจารณ์วรรณกรรมดังกล่าว
เบิกฟ้า มัณฑนา โมรากุล
สำหรับหนังสือเล่มนี้ สืบเนื่องมาจากกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง มัณฑนาวิชาการ ของสาขาสังคีตศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เมื่อวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2546 และเป็นหนึ่งในผลงานในโครงการวิจัย “การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปํญญาของสังคมร่วมสมัย “ (ระยะที่ 2)
คุณมัณฑนา โมรากุล เป็นนักร้องอมตะที่มีชื่อเสียงโดดเด่นมาตลอดด้วยการขับร้องที่เป็นเอกลักษณ์ การศึกษาถึงเนื้อหาของเพลงที่คุณมัณฑนาร้อง ท่วงทำนองการร้อง ต่างๆ ล้วนเป็นงานวิจารณ์ที่มีคุณค่า หนังสือเล่มนี้นอกจากเป็นการรวบรวมผลงานการสัมมนาและร่วมแสดงมุทิตาจิตต่อคุณมัณฑนา โมรากุล ศิลปินอาวุโสในโอกาสมีอายุ 80 ปีเมื่อปี พ.ศ. 2545 แล้วยังเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของวงการเพลงไทยสากล รวมทั้งแสดงให้เห็นว่างานเพลงก็สามารถนำมาศึกษาในเชิงวิชาการได้อย่างมีคุณค่าและการวิจารณ์เพลงก็ก่อให้เกิดพลังทางปัญญาได้ด้วย
การแปลนวนิยายเรื่อง"เวอร์เทอร์ระทม
หนังสือเรื่อง "การแปลนวนิยายเรื่อง แวร์เธ่อร์ระทม เป็นไทย " เล่มนี้ ได้ศึกษากระบวนการแปลและปัญหาในการแปลงานร้อยแก้วเยอรมันเป็นไทย โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการเตรียมตัวในขั้นตอนแรกก่อนการแปล จากนั้นได้นำเสนอทฤษฎีการแปลวรรณกรรมของเลฟวิ ทฤษฎีการวิเคราะห์ตัวบทกับการแปลของนอร์ท หลักการวิจารณ์การแปลของไร้ส รวมทั้งศาสตร์แห่งการตีความงานวรรณกรรมแบบ hemeneutics เพื่อแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีดังกล่าว สามารถนำมาวิเคราะห์ตัวบทและช่วยในการทำให้เข้าใจตัวบท รวมทั้งสามารถช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการแปลงานทั้งในระดับคำ ไปจนถึงบริบทได้อย่างไร
ทางสายใหม่แห่งวรรณกรรมไทย
หนังสือ "ทางสายใหม่แห่งวรรณกรรมไทย : ทัศนวิจารณ์ต่อนวนิยายยุคแรก" เล่มนี้ เป็นการรวบรวมบทวิจารณ์ของสิบนักวิชาการที่มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือได้ ซึ่งนวนิยายที่เลือกมาใช้เป็นงานต้นแบบในการวิจารณ์ครั้งนี้มี 12 เรื่อง ดังนี้ 1. ผิวเหลืองหรือผิวขาว ของ ม.จ.อากาศดำเกิง รพีพัฒน์ 2.ผู้ชนะสิบทิศ ของ ยาขอบ 3.หนึ่งในร้อย ของดอกไม้สด 4.แผลเก่า ของ ไม้ เมืองเดิม 5.หญิงคนชั่ว ของ ก.สุรางคนางค์ 6.ป่าในชีวิต ของศรีบูรพา 7.นี่แหละโลก ของดอกไม้สด 8.ขุนศึก ของไม้ เมืองเดิม 9.อวสานสวนกุหลาบ ของ ร.จันทพิมพะ 10.แผ่นดินของเรา ของ แม่อนงค์ 11.บ้านทรายทอง ของ ก.สุรางคนางค์ และ 12.แลไปข้างหน้า ของ ศรีบูรพา นวนิยายทั้ง 12 เรื่องนี้ผูกพันกับบริบทของสังคมไทย มิใช่เพียงงานบันเทิงคดีที่พาผู้อ่านไปเสพสุขารมณ์ในโลกจินตนาการเท่านั้น แต่นวนนิยายยังปลุกสำนึกให้ผู้อ่านมองเห็นโลกและชีวิตในแง่มุมใหม่ๆ และหลากหลายอีกด้วย
วรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 1
งานวรรณกรรมที่มีในวรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 1 นี้ประกอบด้วยบทวรรณกรรม ได้แก่ ตำนานสร้างโลก ฉบับบ้านป่าลาม, ไตรภูมิ ฉบับบ้านกระบี่น้อย, แผนที่ภาพไตรภูมิ ฉบับวัดควนมะพร้าว พัทลุง, นางโภควดี คำกาพย์, ศีลกถา คำกาพย์, พระปรมัตถธรรม คำกาพย์ ฉบับชำระ, คัมภีร์มหาวิบาก ฉบับร้อยแก้ว, คัมภีร์มหาวิบาก คำกลอน
วรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 2
งานวรรณกรรมที่มีในวรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 2 นี้ประกอบด้วยบทวรรณกรรม ได้แก่ ขันธวิภังคินี คำกาพย์, คัมภีร์ประถมจินดาอภัยสันตา คำกาพย์, ตำราสรรพคุณยาไทย, เส้นสิบแผนคัมภีร์ คำกาพย์, บทไหว้สัดสะดี, ศาสตราฉบับตำบลเขารูปช้าง, ภาพถ่ายศาสตราฉบับตำบลเขารูปช้าง, โองการพญากรูด, พระมาลัยคำกาพย์ ฉบับวัดควนปันตาราม, พระมาลัยคำกาพย์ ฉบับวัดธรรมโฆษณ์(ฉบับที่ 1)
วรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 3
งานวรรณกรรมที่มีในวรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 3 นี้ประกอบด้วยบทวรรณกรรม ได้แก่ จารึกแผ่นทองที่ปลียอดพระมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช, หลักไชย ฉบับ จ.ศ.1082, เกาะตะรุเตา ทัณฑสถานประวัติศาสตร์, แหล่หมอจันทร์ บทแหล่, พระนิพพานสูตร คำกาพย์, พระพุทธโฆษา คำกาพย์, พิมพาแจ้งชาติ คำกาพย์ และ ลิลิตโสฬสนิมิต ลิลิต
วรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 4
งานวรรณกรรมที่มีในวรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 4 นี้ประกอบด้วยบทวรรณกรรม ได้แก่ กายนคร คำกาพย์, จิตทกุมาร คำกาพย์, นางอุทัย คำกาพย์ และ กำเนิดแห่งสัตว์ กาพย์ห่อโคลง
วรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 5
งานวรรณกรรมที่มีในวรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 5 นี้ประกอบด้วยบทวรรณกรรม ได้แก่ พระสุธน - นางมโนห์รา ฉบับวัดโพธิ์ปฐมาวาส และ บทละครเรื่องนางมโนห์รา ตอนนางมโนห์ราถูกจับไปถวายพระสุธน
หนังสือเล่มนี้ เป็นผลงานส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “ภูมิปัญญาทักษณจากวรรณกรรมท้องถิ่น” ซึ่งเป็นโครงการวิจัยย่อยภายใต้ชุดโครงการภูมิปัญญาทักษิณจากวรรณกรรมและพฤติกรรม และมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภท “คตินิยม” ซึ่งเป็นมโนทัศน์ของปราชญ์ชาวบ้านที่ปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นประเภทลายลักษณ์ โดยคัดสรรจากวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ที่ยังมีต้นฉบับให้สืบค้นได้ ประมาณ 5,000 ฉบับ และคัดสรรออกมาเป็นผลงาน 4 ส่วนหลัก ได้แก่ วรรณกรรมบรรณานิทัศน์ วรรณกรรมปริทัศน์ วรรณกรรมคัดสรร และวรรณกรรมพินิจ
โดยหนังสือวรรณกรรมปริทัศน์เล่มนี้ ประมวลขึ้นจากการศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้จำนวนมาก และนำเสนอลักษณะ และจารีต ที่พบในวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ เช่น การใช้สัญลักษณ์ ภูมิปัญญา จิตรกรรมที่ปรากฏในหนังสือบุด ศิลปการเล่นคำ กวีโวหาร ตลอดจนบันทึกเหตุการณ์สำคัญในท้องถิ่น ซึ่งสะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาภาคใต้
มองข้ามบ่านักเขียน : เรื่องสั้นไทยในทัศนะนักวิจารณ์
เมื่อนักวิจารณ์ยืนอยู่ข้างหลังนักเขียน มองข้ามบ่านักเขียนออกไป เขาจะเห็นอย่างเดียวกันกับนักเขียนหรือไม่ เขาจะเห็นสิ่งที่นักเขียนไม่ทันเห็น หรือไม่สนใจจะเขียนถึงบ้างหรือไม่ หรือเขาอาจมองเห็นบางสิ่งบางอย่าง ที่เขาเชื่อว่ามีอยู่ หรือน่าจะมีอยู่และที่ต่างไปจากนักเขียน ผู้ยืนอยู่ข้างหน้า ...
บทวิจารณ์ 12 บท และเรื่องสั้น 12 เรื่อง ที่รวมอยู่ในหนังสือเล่มนี้เป็นผลงานอีกชิ้นหนึ่งในโครงการวิจัย “การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปํญญาของสังคมร่วมสมัย “ (ระยะที่ 2) นี้มุ่งหมายที่จะปลูกสร้างวัฒนธรรมการวิจารณ์ทั้งลายลักษณ์และมุขปาฐะให้มีรากฐานที่มั่นคงและเจริญงอกงามต่อไปในวงวิชาการและสาธารณชน เรื่องสั้นที่ยกขึ้นมาเป็นงานเขียนในช่วงทศวรรษ 2520 และ 2530 เช่นเรื่อง ท่อนแขนนางรำ ของมนัส จรรยงค์ (พ.ศ. 2493) ไพร่ฟ้า ของ ลาวคำหอม (พ.ศ. 2501) สาบเสือ ของ นิคม รายยวา (พ.ศ. 2542) เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้รักงานวรรณกรรมทุกท่าน รวมทั้งท่านที่สนใจเรื่องของงานวิจารณ์วรรณกรรมดังกล่าว
เบิกฟ้า มัณฑนา โมรากุล
สำหรับหนังสือเล่มนี้ สืบเนื่องมาจากกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง มัณฑนาวิชาการ ของสาขาสังคีตศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เมื่อวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2546 และเป็นหนึ่งในผลงานในโครงการวิจัย “การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปํญญาของสังคมร่วมสมัย “ (ระยะที่ 2)
คุณมัณฑนา โมรากุล เป็นนักร้องอมตะที่มีชื่อเสียงโดดเด่นมาตลอดด้วยการขับร้องที่เป็นเอกลักษณ์ การศึกษาถึงเนื้อหาของเพลงที่คุณมัณฑนาร้อง ท่วงทำนองการร้อง ต่างๆ ล้วนเป็นงานวิจารณ์ที่มีคุณค่า หนังสือเล่มนี้นอกจากเป็นการรวบรวมผลงานการสัมมนาและร่วมแสดงมุทิตาจิตต่อคุณมัณฑนา โมรากุล ศิลปินอาวุโสในโอกาสมีอายุ 80 ปีเมื่อปี พ.ศ. 2545 แล้วยังเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของวงการเพลงไทยสากล รวมทั้งแสดงให้เห็นว่างานเพลงก็สามารถนำมาศึกษาในเชิงวิชาการได้อย่างมีคุณค่าและการวิจารณ์เพลงก็ก่อให้เกิดพลังทางปัญญาได้ด้วย
การแปลนวนิยายเรื่อง"เวอร์เทอร์ระทม
หนังสือเรื่อง "การแปลนวนิยายเรื่อง แวร์เธ่อร์ระทม เป็นไทย " เล่มนี้ ได้ศึกษากระบวนการแปลและปัญหาในการแปลงานร้อยแก้วเยอรมันเป็นไทย โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการเตรียมตัวในขั้นตอนแรกก่อนการแปล จากนั้นได้นำเสนอทฤษฎีการแปลวรรณกรรมของเลฟวิ ทฤษฎีการวิเคราะห์ตัวบทกับการแปลของนอร์ท หลักการวิจารณ์การแปลของไร้ส รวมทั้งศาสตร์แห่งการตีความงานวรรณกรรมแบบ hemeneutics เพื่อแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีดังกล่าว สามารถนำมาวิเคราะห์ตัวบทและช่วยในการทำให้เข้าใจตัวบท รวมทั้งสามารถช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการแปลงานทั้งในระดับคำ ไปจนถึงบริบทได้อย่างไร
ทางสายใหม่แห่งวรรณกรรมไทย
หนังสือ "ทางสายใหม่แห่งวรรณกรรมไทย : ทัศนวิจารณ์ต่อนวนิยายยุคแรก" เล่มนี้ เป็นการรวบรวมบทวิจารณ์ของสิบนักวิชาการที่มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือได้ ซึ่งนวนิยายที่เลือกมาใช้เป็นงานต้นแบบในการวิจารณ์ครั้งนี้มี 12 เรื่อง ดังนี้ 1. ผิวเหลืองหรือผิวขาว ของ ม.จ.อากาศดำเกิง รพีพัฒน์ 2.ผู้ชนะสิบทิศ ของ ยาขอบ 3.หนึ่งในร้อย ของดอกไม้สด 4.แผลเก่า ของ ไม้ เมืองเดิม 5.หญิงคนชั่ว ของ ก.สุรางคนางค์ 6.ป่าในชีวิต ของศรีบูรพา 7.นี่แหละโลก ของดอกไม้สด 8.ขุนศึก ของไม้ เมืองเดิม 9.อวสานสวนกุหลาบ ของ ร.จันทพิมพะ 10.แผ่นดินของเรา ของ แม่อนงค์ 11.บ้านทรายทอง ของ ก.สุรางคนางค์ และ 12.แลไปข้างหน้า ของ ศรีบูรพา นวนิยายทั้ง 12 เรื่องนี้ผูกพันกับบริบทของสังคมไทย มิใช่เพียงงานบันเทิงคดีที่พาผู้อ่านไปเสพสุขารมณ์ในโลกจินตนาการเท่านั้น แต่นวนนิยายยังปลุกสำนึกให้ผู้อ่านมองเห็นโลกและชีวิตในแง่มุมใหม่ๆ และหลากหลายอีกด้วย
วรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 1
งานวรรณกรรมที่มีในวรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 1 นี้ประกอบด้วยบทวรรณกรรม ได้แก่ ตำนานสร้างโลก ฉบับบ้านป่าลาม, ไตรภูมิ ฉบับบ้านกระบี่น้อย, แผนที่ภาพไตรภูมิ ฉบับวัดควนมะพร้าว พัทลุง, นางโภควดี คำกาพย์, ศีลกถา คำกาพย์, พระปรมัตถธรรม คำกาพย์ ฉบับชำระ, คัมภีร์มหาวิบาก ฉบับร้อยแก้ว, คัมภีร์มหาวิบาก คำกลอน
วรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 2
งานวรรณกรรมที่มีในวรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 2 นี้ประกอบด้วยบทวรรณกรรม ได้แก่ ขันธวิภังคินี คำกาพย์, คัมภีร์ประถมจินดาอภัยสันตา คำกาพย์, ตำราสรรพคุณยาไทย, เส้นสิบแผนคัมภีร์ คำกาพย์, บทไหว้สัดสะดี, ศาสตราฉบับตำบลเขารูปช้าง, ภาพถ่ายศาสตราฉบับตำบลเขารูปช้าง, โองการพญากรูด, พระมาลัยคำกาพย์ ฉบับวัดควนปันตาราม, พระมาลัยคำกาพย์ ฉบับวัดธรรมโฆษณ์(ฉบับที่ 1)
วรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 3
งานวรรณกรรมที่มีในวรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 3 นี้ประกอบด้วยบทวรรณกรรม ได้แก่ จารึกแผ่นทองที่ปลียอดพระมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช, หลักไชย ฉบับ จ.ศ.1082, เกาะตะรุเตา ทัณฑสถานประวัติศาสตร์, แหล่หมอจันทร์ บทแหล่, พระนิพพานสูตร คำกาพย์, พระพุทธโฆษา คำกาพย์, พิมพาแจ้งชาติ คำกาพย์ และ ลิลิตโสฬสนิมิต ลิลิต
วรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 4
งานวรรณกรรมที่มีในวรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 4 นี้ประกอบด้วยบทวรรณกรรม ได้แก่ กายนคร คำกาพย์, จิตทกุมาร คำกาพย์, นางอุทัย คำกาพย์ และ กำเนิดแห่งสัตว์ กาพย์ห่อโคลง
วรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 5
งานวรรณกรรมที่มีในวรรณกรรมทักษิณ วรรณกรรมคัดสรร เล่มที่ 5 นี้ประกอบด้วยบทวรรณกรรม ได้แก่ พระสุธน - นางมโนห์รา ฉบับวัดโพธิ์ปฐมาวาส และ บทละครเรื่องนางมโนห์รา ตอนนางมโนห์ราถูกจับไปถวายพระสุธน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
comment