1.หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสองตอนที่มีเนื้อหาต่อเนื่องกัน ตอนที่หนึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการให้ภาพหลังฉากในอันที่จะเข้าใจได้ถึงการศึกษาทางด้านการเมืองของจอมพลสฤษดิ์ ตอนที่สองได้กล่าวอย่างละเอียดเกี่ยวกับรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ลักษณะการปกครองของพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการของไทย และคตินิยมเกี่ยวกับประชาธิปไตย
2.ชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า มีความน่าสนใจตรงที่ได้แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของนโยบายรัฐบาลพม่าต่อชนกลุ่มน้อยที่เปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงยุคสังคมเปิด การสร้างตัวและการต่อสู่ของกลุ่มต่าง ๆ ที่ค่อนข้างละเอียด การวิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม และกับรัฐบาลพม่าและบางส่วนเกี่ยวเนื่องกับไทยที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน
3.ปฏิวัติ 2475 เป็นการรวมผลงานของนักวิชาการ ทั้งนี้เพื่อสร้างมิติที่รอบด้านมากขึ้นในการอธิบายทำความเข้าใจเหตุการณ์สำคัญยิ่งทางประวัติศาสตร์สังคมการเมืองไทย ซึ่งยังดำรงการต่อสู้ขัดแย้งโดยกลุ่มฝ่ายต่าง ๆ เพื่อสถาปนาพื้นที่ความทรงจำ และสร้างจินตนาการถึงชุมชนรัฐไทย เกี่ยวกับบทบาทและสัมพันธภาพทางอำนาจของบุคคลและสถาบันสังคมการเมืองทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
4. หนังสือ การเมืองไทยกับพัฒนาการรัฐธรรมนูญ เล่มนี้ ดูจะจัดอยู่ในแนวทางของการวิเคราะห์ด้วยกรอบของวิชาการดังกล่าว และน่าเป็นหนังสือที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งที่เกี่ยวกับปัญหาของการเมืองไทยตลอดจนปัญหาของรัฐธรรมนูญ อันเป็นปัญหาและมรดกตกทอดมาเป็นระยะเวลานาน
5. ชาวจีนโพ้นทะเลได้ครองความสำคัญสำหรับอนาคตของภูมิภาคแห่งนี้ยิ่งขึ้นพร้อม ๆ กันกับการสิ้นสุดของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การสถาปนาอำนาจรัฐคอมมิวนิสต์ของจีนทำให้จีนสามารถขยายอิทธิพลได้มากขึ้นอีก
6. การแต่งกายสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นหนังสือที่รวบรวมการแต่งกายคนไทยในอดีต ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิวัฒนการเครื่องแต่งกายตั้งแต่ช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนถึงปี พ.ศ. 2525 ซึ่งมีวิวัฒนการความเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเจน จากการแต่งกายแบบท้องถิ่นเข้าสู่การรับอิธิพลการแต่งกายจากภายนอกเป็นการเปลี่ยนแปลงจากนุ่งโจงห่มสไบมาเป็นเสื้อผ้าในแบบชาวตะวันตก
7.ความสำคัญของการค้าจีน-สยามที่เติบโตอย่างมากนี้ได้รับการเน้นย้ำจากข้อเท็จจริงที่ว่าการค้าต่างประเทศของสยามในตอนนั้นมุ่งไปที่ตลาดจีนเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าสยามจะพึ่งพาจีนในเรื่องการค้า แต่สยามก็ช่วยพัฒนาการค้าสำเภาจีนด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 กรุงเทพฯได้กลายเป็นเมืองท่าหลักของสำเภาในทะเลจีนใต้ ซึ่งไม่เพียงเป็นศูนย์กลางของการค้าระดับภูมิภาคเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งต่อเรือสำเภาเดินสมุทรแบบจีนที่ใช้กันอยู่เป็นส่วนใหญ่ในขณะนั้นด้วย
8.วัฒนธรรมกับการพัฒนา : ทางเลือกของสังคมไทย เล่มที่ 2 ชนเผ่าไทยอีสาน เป็นข้อมูลพื้นฐานในการเผยแพร่สร้างความเข้าใจในกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของครอบครัว ชุมชน และสังคม ของภาคตะวันออกเฉียงใต้
9.การศึกษาประวัติศาสตร์นครลำปางจากจารึกและเอกสารโบราณประเพณีและความเชื่อ ศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมคำสอนล้านนาไทย เรื่องธรรมดาสอนโลกในเชิงสังคม ภาษิตล้านนา พิธีกรรมเกี่ยวกับช้างลำปาง ขบวนแห่มหาทานปางหลวง สถานที่สำคัญทางศาสนาในจังหวัดลำปาง เป็นต้น
10.หนังสือชุด วัธนธัมไทย มีเรื่องราวเกี่ยวกับวัธนธัมของไทยในทุกสาขาเป็นต้นว่า ในด้านวัธนธัมทางกิจการวัด ปกครองประเทสบ้านเมือง ก็มีเรื่องราวประวัติสารทไทย วัธนธัมทางการสากล วิวัธนการของเครื่องอาวุธไทย ทัพพา ทัพเรือ และทัพอากาส ประวัติการทูต เรื่องของกสัตร สาธรณูปโภค พระราชถาน ในด้านวัธนธัมทางระเบียบประเพณี เป็นต้น
11.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (สยาม) กับประเทศฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตามเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศ ได้แปลและเรียบเรียงจากวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตที่เคยเสนอต่อมหาวิทยาลัยปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นหนังสือที่ดีมีสาระส่งเสริมการศึกษาประวัติศาสตร์ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ชาติและประชาชนตามวัตถุประสงค์หลักของราชบัณฑิตยสถาน
12. เนื้อหาสาระเกี่ยวกับสังคมญี่ปุ่นโดยแบ่งสังคมญี่ปุ่นออกเป็น 3 ช่วง คือ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงคราม และญี่ปุ่นปัจจุบันทำให้ผู้อ่านสามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงได้โดยตลอดจากอดีตถึงปัจจุบัน
13.โครงการวิจัย กฎหมายตราสามดวง : ประมวลกฎหมายไทยในฐานะมรดกโลก เป็นโครงการที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยได้ให้การสนับสนุนแก่ ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร โดยมีจุดประสงค์ที่จะส่งเสริมการวิจัยด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ พัฒนาศักยภาพของนักวิจัยรุ่นใหม่ และส่งเสริมการวิจัยเป็นคณะในเชิงสหสาขาวิชา
14. เนื้อหาสาระของหนังสือเล่มนี้ เป็นการรวบรวมประวัติและผลงานทางด้านการเมืองของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นับตั้งแต่การตกจากอำนาจของจอมพล ป. พิบูลสงครามครั้งแรกโดยวิธีทางรัฐสภานั้นคือการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 และการถูกทหารด้วยกันเอง ทำรัฐประหารเมื่อปี 2500
นวรัตน์ เลขะกุล
15.เบี้ย บาท กษาปณ์ แบงก์ เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับเงินตราในสมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
16.หนังสือเรื่อง ประวัติการเมืองไทย 2475-2550 ของอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ กล่าวได้ว่าเป็นเสมือนบทสรุปของความรู้เกี่ยวกับการเมืองไทยในยุคใหม่ ณ กลางทศวรรษ 2540
ศรัณย์ ทองปาน
17. สมบัติไทย 27 เป็นวารสารที่รวมบทความทางวัฒนธรรม สาขาต่าง ๆ เพี่อเป็นที่ระลึกในการจัดนิทรรศการ ทางวิชาการและวัฒนธรรม
ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์
18.รัฐสภาไทยในรอบ 42 ปี อันเปรียบเสมือนคันฉ่องส่องอดีตของประเทศในแง่ของการปกครองได้รับการวินิจฉัยว่าจัดเป็นวรรณกรรมอันเกี่ยวกับประวัติการปกครองบ้านเมืองของไทยในวาระหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญอีกช่วงหนึ่ง
19.ภาษิตและสำนวน : วรรณกรรมมุขปาฐะเมืองนครศรีธรรมราช : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ เผยแพร่ในครั้งนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งซึ่งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ปฏิบัติเพื่อสนองนโยบายของสถาบัน ตามโครงการและแผนงานที่ผ่านการพิจารณาขององค์กรที่เกี่ยวข้องแล้ว
20. วรรณกรรมมุขปาฐะ ประเภทปริศนาเมืองนครศรีธรรมราช เผยแพร่ในครั้งนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งซึ่งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ปฏิบัติเพื่อสนองนโยบายของสถาบัน ตามโครงการและแผนงานที่ผ่านการพิจารณาขององค์กรที่เกี่ยวข้องแล้ว